ในช่วงวันหยุดยาวคนไทยส่วนใหญ่มักเดินทางกลับบ้าน โดยเฉพาะทางรถยนต์ ซึ่งอัตราการเกิดอุบัติเหตุนั้นสูงขึ้นทุกปีนอกเหนือจากเมาแล้วขับ อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญในยุคดิจิตอลคือการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถยนต์ ที่รวมถึงการส่งข้อความระหว่างขับรถด้วย ซึ่งมีผลวิจัยจากกลุ่ม Pew Research ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า
วัยรุ่นร้อยละ 34 และผู้ใหญ่ร้อยละ 47 ใช้โทรศัพท์เพื่อส่งข้อความในขณะขับรถ อีกทั้งในปี 2008 สำนักงานทางหลวงเพื่อความปลอดภัยแห่งชาติ (NHTSA) มีรายงานออกมาว่า มีผู้เสียชีวิตกว่า 6,000 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 500,000 คน เนื่องมาจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ
งานวิจัยดังกล่าวนี้ ทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่า การขาดสมาธิขณะขับรถ อาจทำให้เกิดความรุนแรง และอุบัติเหตุตามมาได้ เพราะการใช้โทรศัพท์ทำให้เราละสายตาจากถนน แม้ว่าจะเป็นแค่เสี้ยววินาที ก็สามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ และในงานวิจัยยังกล่าวอีกว่า การเล่นโทรศัพท์มือถือขณะขับรถ นั้นอันตรายยิ่งกว่าเมาแล้วขับ
โดยต่อมาในปี 2009 มีการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่า การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ มีอันตรายมากกว่าเมาแล้วขับจริงหรือไม่
ในการทดลองมีอาสาสมัคร 2 คน โดยคนแรกให้ขับรถโดยไม่มีสิ่งรบกวนใดๆ ส่วนคนที่สองต้องเล่นโทรศัพท์ขณะขับรถไปด้วย ในส่วนของคนที่เล่นโทรศัพท์ เขาจะเบรกรถทุกๆ 56.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนคนที่ไม่ได้เล่น จะเบรกรถทุกๆ 112.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเมื่อเทียบกัน ทั้งสองคนมีผลที่แตกต่างกันมาก แล้วต่อมาในการทดลองครั้งที่สอง โดยการให้อาสาสมัคร 2 คนมาขับรถ โดยคนแรกให้ดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนอีกคนไม่ดื่มแต่ให้เล่นโทรศัพท์ไปด้วย ผลปรากฏว่า คนที่ดื่มแอลกอฮอล์มีการตอบสนองต่อการขับขี่ ดีกว่าคนที่เล่นโทรศัพท์เสียอีก
อย่างไรก็ตาม การขับขี่ที่ปลอดภัยที่สุดคือ ขับรถอย่างมีสติ มีสมาธิ ไม่เล่นโทรศัพท์ และงดดื่มแอลกอฮอล์… [อ่านต่อ]