Apple ออกมาเตือนผู้ใช้งานว่า อย่าเปลี่ยนแบตใน AirTag เอง เพราะแบตรุ่น CR2032 ที่เคลือบสารขมใช้กับ AirTag ไม่ได้ค่ะ
ความจริงแล้ว AirTag ถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เอง เพียงแต่ต้องเลือกรุ่นที่ไม่มีสารขมเคลือบเอาไว้ เพราะหากมีสารขม ผู้ใช้ต้องจัดตำแหน่งของสารเคลือบให้ตรงกับหน้าสัมผัสของแบตเตอรี่ ซึ่งก็อาจจะยุ่งยากกว่าเดิมค่ะ
ทำไมต้องเคลือบสารขมไว้บนแบตเตอรี่?
สารเคลือบรสขมนี้ถูกออกแบบมาเพื่อกันไม่ให้เด็กเล็ก ๆ กลืนวัตถุขนาดเล็กลงท้องไปค่ะ ซึ่งแบตเตอรี่ทรงกลมคล้ายกระดุมนี้อาจติดอยู่ที่หลอดอาหารของเด็กหายใจไม่ออก หรือร้ายไปกว่านั้นก็คืออาจเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนสารต่าง ๆ ของแบตเตอรี่ไหม้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ค่ะ
ดังนั้นหากจะซื้อแบต CR2032 ก็อย่าลืมเช็กว่ามันเคลือบสารขมกันเด็ก ๆ กลืนหรือเปล่านะคะ เพราะมันอาจใช้กับ AirTag ของคุณไม่ได้ค่ะ
ส่วนวิธีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ AirTag ด้วยตัวเอง มีดังนี้ค่ะ
- กดฝาครอบแบตเตอรี่ของ AirTag ลงแล้วหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนฝาครอบหยุดหมุน
- ถอดฝาครอบแล้วเอาแบตเตอรี่ออก
- ใส่แบตเตอรี่ลิเธียมแบบกระดุม 3V รหัส CR2032 อันใหม่เอี่ยมลงไปโดยหันขั้วบวกขึ้น ตอนนี้จะมีเสียงสัญญาญว่าเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่แล้
- ปิดฝาครอบกลับที่เดิม ดูให้แน่ใจว่าแถบทั้งสามแถบบนฝาครอบตรงกับร่องบน AirTag ทั้งสามร่องดีแล้ว
- หมุนฝาครอบตามเข็มนาฬิกาจนกระทั้งหมุนไม่ได้แล้วค่ะ
สำหรับแบตเตอรี่ลิเธียม CR2032 รูปทรงกระดุมนี้หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และห้างสรรพสินค้าทั่วไปค่ะ ซึ่งมันจะคล้ายกับรุ่นยอดนิยมที่ใช้เปลี่ยนแบตกุญแจรถยนต์ค่ะ ราคาไม่เกิน 50 บาทค่ะ ประหยัดมาก ๆ เลยนะคะ
ที่มา iclarified.com